วิธีดูแลรถจักรยาน

อาจจะมีมือใหม่หลายๆ คนที่อยากจะทำความสะอาดเช็ดล้างจักรยานสุดที่รักแต่ก็ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี วันนี้เรามาดูวิธีการล้างเสือหมอบสอนโดยช่างโปรทีม Omega Pharma-Quickstep พร้อมวิดีโอประกอบทุกขั้นตอน

ล้างจักรยาน

เมื่อวันก่อนระหว่างที่ผมกำลังเปิดดูช่องจักรยานใน youtube ทีม Omega Phama-Quickstep ก็พึ่งอัปโหลดวิดีโอวิธีสอนการล้างเสือหมอบพอดี ช่างประจำทีมมาสอนเองเลย เห็นแล้วน่าสนใจและคงเป็นประโยชน์สำหรับคนที่พึ่งซื้อรถและไม่รู้ว่าจะล้างจักรยานคันเก่งยังไง เลยเอามาแชร์แบ่งกันดู อุปกรณ์หลายๆ อย่างที่ช่างโปรใช้ก็ไม่ได้หายากอะไร น้ำยาล้างบางตัวเราก็ดัดแปลงได้ไม่ต้องซื้อของแพงอย่างที่ทีมแข่งใช้ครับ

*ข้อควรระวัง*

อย่าฉีดน้ำ ถ้าคิดว่ามีน้ำตกค้างอยู่บริเวณกระโหลก ถอดหลักอานแล้วคว่ำรถ ให้น้ำไหลออกมาให้หมด ผึ่งแดดให้แห้ง ถึงโปรจะใช้ที่ฉีดน้ำก็ใช่ว่าควรจะทำตาม โปรทีมมีสปอนเซอร์ อะไหล่ พร้อมเปลี่ยนเมื่อมีปัญหา มีช่างเซอร์วิสอุปกรณ์ ซ่อมเปลี่ยนได้ง่าย เสือหมอบโปรส่วนใหญ่ใช้แค่ฤดูกาลเดียวก็เปลี่ยนแล้ว แต่เราจ่ายเงินใช้เองหลายปี ก็ต้องดูแลรักษากันอย่างระวังครับ วิธีการดูแลรถย่อมไม่เหมือนกัน วิดีโอและภาพที่ลงเว็บวันนี้ใช้เป็นแนวทางได้ แต่ก็ต้องดัดแปลงตามความเหมาะสมครับ

* ถ้ากลัวน้ำเข้ากระโหลกและถ้วยคอ พยายามอย่าให้น้ำไหลผ่านหลักอาน บริเวณกระโหลก และคอแฮนด์ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดเท่าที่จำเป็นก็พอถ้าไม่ได้เปื้อนเขรอะอะไร
* ห้ามใช้ปั๊มลมเป่ากระโหลกและดุมล้อ จารบีมันจะไหลออกมาหมด และลมแรงๆ จะทำให้น้ำ ฝุ่น ทรายไหลเข้าไปในซีลแบริ่ง

อัปเดตเพิ่มเติม : คุณ Rey เขียนวิธีทำความสะอาดโดยไม่ต้องล้างในคอมเม้นต์ เป็นอีกทางเลือกหากไม่ต้องการล้างด้วยน้ำทั้งคันครับ

** รถจักรยานไม่ควรล้างบ่อยๆ เวลาน้ำเข้าเฟรม เข้าอุปกรณ์แล้วมันไม่ค่อยจะออก สนิมจะขึ้นจะทำให้อะไหล่บางตัวเสียเอาได้ ถ้าไม่จำเป็นเปื้อนมากจริงๆก็ไม่ควรล้าง พยายามรักษารถให้สะอาดทุกครั้งหลังปั่นด้วยการเอาผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดรถทุกครั้ง เช็ดยางด้วยจะช่วยให้เกาะถนนดีขึ้น และได้เช็คสภาพยางก่อนออกไปปั่นด้วยครับ

สิ่งที่ต้องเตรียม

1. ฟองน้ำล้างรถ 2 ชิ้น
2. แปรงทาสีเล็กๆ 2 ด้าม
3. แปรงขัดห้องน้ำ
4. ถังน้ำ
5. สบู่เหลว
6. แปรงล้างขวดน้ำแบบยาวๆ (ไม่รู้เรียกว่าอะไร ถ้ามีชื่อก็คอมเม้นต์ไว้เลยครับ คนอื่นจะได้หาซื้อมาใช้ง่ายๆ )
7. ผ้าขนหนู 2-3 พื้น (แบ่งไว้ใช้กับโซ่และเฟืองโดยเฉพาะ 1 ผืน)
8. น้ำมันซักแห้ง (ซื้อที่ร้านก่อสร้างทั่วไป ขวดละ 30 บาท) หรือจะน้ำยาล้างคราบไขมันที่ใช้ในครัว (สูตรน้ำ) ก็ได้
9. น้ำมันโซ่ (ใช้หยอดเฟืองและโซ่)
10. ถุงมือยาง

วิธีดูแลรถจักรยานเสือภูเขา

วิธีดูแลจักรยานเสือภูเขา 


วิธีดูแลจักรยานเสือภูเขา
สวัสดีครับวันนี้จะมาแชร์การดูแลจักรยานเสือภูเขา จักรยานเสือภูเขาที่เราขี่ทุกวันๆ ถึงแม้มันจะไม่มีชีวิต เมื่อไดที่มันมอมแมม ก็ควรจัรักษามันหน่ิยนะครับ

ทุกครั้งก่อนการนำเสือภูเขาออกทริป
– ตรวจการเกาะของดุมล้อให้แน่นหนา
– ตรวจสภาพยางและความดันของลม
– ตรวจคอแฮนด์ให้ตั้งตรงทางและแน่นหนา
– ตรวจสอบการทำงานของเบรกให้เป็นปกติ
– ฉีดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่างๆให้ครบครัน

ทุกครั้งเมื่อสิ้นสุดการเดินทาง – ล้างและเช็ดตัวจักรยานและชิ้นส่วนต่างๆ และตากให้แห้งสนิท – ตรวจดูร่องรอยการกระทบกระแทกและบาดแผลต่างๆ หากมี ให้ฉีดน้ำยากันสนิมและน้ำมันรักษาเนื้อโลหะ – ฉีดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่างๆให้ครบครัน ตรวจทุกสัปดาห์ – เช็ดตัวรถด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ ให้ทั่วคัน – ตรวจซี่ลวดไม่ให้หย่อน ตรวจทุกเดือน – ตรวจสอบและหยอดน้ำมันโซ่และเฟืองท้าย – ตรวจสอบและหล่อลื่นตัวจัดเฟือง – ตรวจหานอตที่หลวมตามจุดต่างๆ – ตรวจสอบสายเกียร์และเบรก หารอยสึกและชำรุด – ตรวจสอบและปรับลูกปืนคอจักรยาน

ตรวจทุก 3 เดือน – ตรวจดูรอยสึกของขอบล้อ เปลี่ยนถ้าจำเป็น – ตรวจและหล่อลื่นมือจับเบรก – ทำความสะอาดจักรยานทั้งคันด้วยผ้าและน้ำอุ่น – ตรวจสอบชุดบันได ตรวจปีละครั้ง – อัดจาระบีลูกปืนที่กะโหลกและแกนบันได – อัดจาระบีลูกปืนล้อหน้าและล้อหลัง – อัดจาระบีคอจักรยาน – หล่อลื่นหลักอาน หลายคนอาจจะทำไม่ถูกหรือมองข้ามบางจุดไปก็ขอให้กลับไปดูแลคู่ใจคันนั้นของคุณด้วยนะ

การดูแลรักษารถจักรยานง่ายๆ

ดูแลยางจักรยาน

จักรยานก็ต้องการการดูแลรักษาบ้างครับ ไม่ว่าจักรยานนั้นจะราคาถูก หรือแพงก็มีโอกาสพังได้เช่นกันครับ หากขาดการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องทำทุกวันก็ได้นะครับเดียวคนเห็นเข้า เขาจะหาว่าเราบ้าเกินไป แต่ผมไม่แคร์สื่อครับ หากผมออกไปปั่นจักรยาน กลับมาผมต้องเช็คระบบ และทำความสะอาดมันทุกครั้งครับ จนคนทั่วไปจากที่ว่าผมบ้า ก็เฉยไปเลยครับหลังๆ ไม่เห็นว่าอะไรครับได้แต่ดู อยู่ห่างๆ หากเป็นสมัยที่ผมยังปั่นจักรยานแข่งขันอยู่ ช่วงนั้นหายใจเข้าออกก็เป็นจักรยานหมดครับ เช็ดมันได้ทุกวัน ขนาดไม่ได้ออกไปปั่นยังเอามาเช็ดเลยครับ หลายคนที่รักจักรยาน คงเข้าใจความรู้สึกนี้ดีครับ และยังมีเกร็ดเล็กน้อยที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป แต่ผมว่ามันสำคัญนะครับ ถึงจะเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยทำกัน วันนี้ผมเลยจะมาแชร์ ประสบการณ์เหล่านี้ให้ผู้ที่ยังไม่รู้ได้ทราบกันครับ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ครับ

สิ่งเล็กๆน้อยๆที่ไม่ควรมองข้ามในการดูแลรักษาจักรยาน

    • การปล่อยลมยางทุกครั้งหลังจากออกไปปั่นจักรยานกลับมา ซึ่งข้อนี้เป็นข้อที่ทุกคนที่เห็นผมทำจะถามเสมอว่าผมปล่อยยางรถผมทำไม ผมก็ตอบไปว่าเพื่อรักษาสภาพยางให้สามารถ ใช้ได้นานๆ คือยึดอายุการใช้งานของยางได้ครับ เพราะว่าเราออกไปปั่นจักรยาน ซ้อมแต่ละครั้งนั้นนักปั่นคงรู้ว่าเราต้องสูบลมเข้าไปในยางไม่ต่ำกว่า 80 P.S.I. กันเลยทีเดียว บางท่านอัดไปจนเต็มที่เลยครับ คือ 120 – 150 P.S.I. ดังนั้นยางจึงได้รับความกดดันสูง หากเราไม่ปล่อยลมยางออก เมื่อปั่นเสร็จจะทำไห้ยางมีอายุการใช้งานน้อยลงนั้นเองครับ โดยการปล่อยลมยางนั้นไม่ต้องปล่อยจนแบนนะครับ แค่พอบีบแล้วรู้สึกนิ่มๆ ก็พอครับ
    • ปลดเบรคจักรยานปลดเบรคจักรยานขึ้นคลายก้ามเบรคทุกครั้งหลังจากปั่นจักรยานเสร็จ เพื่อยึดอายุการใช้งานสปริงของก้ามเบรคครับ ซึ่งผมได้ถ่ายรูปรถจักรยานของผมเองมาครับ หลายคนคงงงว่าผมยังใช้ก้ามเบรคระบบนี้อยู่หรือ มันเป็นของที่ผมซื้อไว้สมัยก่อนตอนผมยังเด็ก แต่ไม่ได้ใช้ครับ ตอนผมประกอบรถคันนี้เลยทุ่นเงินไปได้หลายตังเลยครับ เป็นรุ่น 105 ของยี่ห้อ SHIMANO ครับเดี๋ยวนี้ไม่มีขายแล้วครับ 105 รุ่นไหม่ก็ไม่ใช้ระบบนี้แล้วเปลี่ยนเป็นระบบดึงคู่หมดครับ แต่ส่วนตัวผมชอบระบบนี้มากกว่า เพราะมีความยืดหยุ่นกว่าในการปรับแต่งครับ

    • เกียร์จักรยานปลดระบบเกียร์ลงมาที่ระดับต่ำสุด ทั้งหน้า และหลังครับ ทำเพื่อยึดอายุสปริงของระบบเปลี่ยนเกียร์ครับให้มันได้อยู่กับเราไปนานๆ ครับ เช่นเฟืองหลังก็ปรับไปที่ใบเล็กสุด ส่วนจานหน้าก็ปรับไปที่ใบเล็กสุดเช่นกันครับลองดูที่รูปครับ ผมถ่ายมาแต่มันไม่ค่อยชัดครับ ผมถ่ายภาพไม่เก่งครับออกตัวไว้ก่อนอย่าบ่นผมนะครับ

  • การทำความสะอาดจักรยานหลังปั่นจักรยานกลับมาก็เช็ดมันเสียหน่อยนะครับ ส่วนตัวผมใช้ของ 3M ครับที่คุณแม่บ้านเอาใว้เช็ดครัวนั่นแหละครับ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับว่าเขาเรียกว่าอะไร ผมเห็นมันซับน้ำได้ดี เวลาเราเช็ดรถ มันจะไม่มีคราบน้ำ ติดที่รถเวลาเราเช็ดครับ ใช้เช็ดรถยนต์ก็ได้ครับ ซับน้ำได้ดีมากเลยครับ ของผมที่ถ่ายมาให้ดูมันเก่าหน่อยนะครับ ถึงจะเก่าแต่ไม่มีขุยเลยครับ ใช้เช็ดคราบเหงื่อเวลามันหยดลงบนจักรยาน เพื่อไม่ให้จักรยานขึ้นสนิมได้ง่ายครับ (สำหรับผู้ที่ยังใช้เฟรมเหล็ก ควรดูแลเป็นพิเศษนะครับ) ส่วนตัวผมจะเช็ดแบบ ง่ายๆ ครับ ส่วนเช็ดแบบละเอียดผมจะทำประมานเดือนละ 2 ครั้ง (แบบละเอียดคือเช็ดทุกซอกทุกมุมของจักรยานเลยครับ)
  • โซ่จักรยานทำความสะอาดโซ่จักรยาน สำหรับจุดนี้ผมจะทำ เว้นครั้งเอาครับ คือปั่นสองวันทำความสะอาด 1 ครั้ง ส่วนการล้างโซ่จักรยาน ผมจะทำทุกๆ 500 กิโลเมตรครับ หากใครทำบ่อยๆ ก็ไม่เป็นไรครับ ยิ่งดีเลยครับช่วยยึดอายุ การใช้งานของชิ้นส่วนดังกล่าวได้เป็นอย่างดีเลยครับ ยิ่งโซ่จักรยานสมัยนี้ เล็กและบางกว่าแต่ก่อนมาก การดูแลอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในจุดนี้ได้ครับ ผมสังเกตุว่าโซ่จักรยานสมัยนี้อายุการใช้งานสั่นกว่าสมัยก่อนมากครับ คือโซ่จะยืดเร็วมากดังนั้นในจุดนี้เราควรดูแลเป็นพิเศษกันหน่อยครับ

ที่ผมได้เล่ามาข้างบนเป็นจุดเล็กๆน้อยๆ ที่หลายคนอาจมองข้าม หรือบางคนอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่า สิ่งเหล่านี้เราต้องทำด้วยหรือ หากใครไม่ได้คลุกคลีในวงการนี้จริงๆ อาจไม่ทราบเลยครับ เพราะจะเป็นสิ่งที่รุ่นพี่ๆ บอกต่อกันมาถึงรุ่นเราๆ นี้แหละครับ ยกตัวอย่างเช่น ศัพท์ต่างๆ ที่นักปั่นจักรยานเขา คุยกันเช่นคำว่า “หลุด” คนทั่วไปไม่ทราบหลอกครับมันมันหมายถึงอะไร แต่หากเป็นนักปั่นจักรยาน จะทราบดีครับ และผมมั่นใจว่านักปั่นทุกคนเคยประสบกับมันมาแล้ว ซึ่งหากท่านใดอยากทราบว่า”หลุด” หมายถึงอะไร บทความเก่าๆ ผมได้อธิบายไว้แล้วครับ ลองตามไปอ่านกันได้ครับ บทความนี้ครับ ภาษา จักรยาน ที่ท่านคุ้นเคย แล้วคุณจะทราบว่านักปั่นทำไมต้องเจอกับคำนี้ทุกคนครับ

วิธีดูแลรักษารถจักรยาน

 การดูแลรักษาจักรยานเบื้องต้น

1. การล้างทำความสะอาด 

ใช้น้ำล้างเหมือนล้างรถทั่วไป หรือใช้น้ำยาล้างรถควบคู่กันไปด้วยก็ยิ่งจะดี เมื่อล้างเสร็จใช้ผ้าเช็ดและผึ่งให้แห้ง แต่ไม่ควรนำรถไปตากแดดหากมีพัดลมเป่าก็ใช้เป่าให้แห้งเพื่อให้มีความชื้นติดอยู่กับตัวรถน้อยที่สุด

แนะนำอุปกรณ์ทำความสะอาด

1. น้ำยาล้างคราบน้ำมัน
2. โฟมฉีดทำความสะอาดสีจักรยาน
3. ชุดแปรงทำความสะอาด
4. สเปรย์เคลือบเงาสีจักรยาน

2. การดูแลจุดสำคัญๆ ได้แก่

– ดุมล้อหน้าหลัง และควรได้รับการอัดจารบี เป็นระยะๆ จารบีควรเป็นชนิดกันน้ำได้ (ห้ามหยอดน้ำมัน)

– สายเกียร์และสายเบรค ให้หยอดน้ำมันหลังการล้างรถทุกครั้ง อย่างน้อยประมาณ 2 – 3 เดือนต่อครั้งโดยเฉพาะหน้าฝน

– มือเปลี่ยนเกียร์ ควรได้รับการอัดจารบี ประมาณ 5 – 6 เดือนต่อครั้ง

– ชุดถ้วยคอ ควรได้รับการตรวจเช็คก่อนการขับขี่ทุกครั้ง ว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ การ Service ก็คือ ควรใส่จารบี 5 – 6 เดือนต่อครั้งเช่นกัน